พระเทพโมลี (สำรอง คุณวุฑฺโท)
อัตโนประวัติ
ประวัติพระเทพโมลี
(สำรอง คุณวุฑฺโท) ป.ธ.๕
ชาติภูมิและถิ่นกำเนิด
พระเทพโมลี มีชาติกำเนิดในสกุล “อุตตรนคร” มีนามเดิมว่า “สำรอง” เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีกุน ณ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โยมมารดาชื่อ “นิ่ม” มีบ้านเดิม อยู่ที่อำเภอหนองสองห้อง และเป็นญาติกับพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมทาจารย์(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) โยมบิดาชื่อ “สี” ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ ในพี่น้อง ๑๐ คน
การศึกษาและอาชีพ เมื่ออายุ ๑๐ ปี ได้เข้ารับการศึกษาในระดับ ประถมศึกษา ๑ จนถึง ๔ ที่โรงเรียนประชาบาล วัดพุทธวิสัยยาราม(วัดท่าน้ำพอง) หลังจากสำเร็จการศึกษาก็ได้รับ การแต่งตั้งให้เป็นครูฝึกสอนที่โรงเรียนเดิม ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๐ ท่านได้เดินทางมาเรียนต่อโรงเรียนช่างกลที่กรุงเทพฯ และต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประจำที่โรงเรียนช่างกลยันตวิทยานุเคราะห์ และเมื่อจบการศึกษาก็กลับมาประกอบอาชีพขับรถที่อำเภอน้ำพอง การเข้าสู่รมกาสาวพัสตร์ ปี พ.ศ. ๒๔๗๔ เมื่อท่านได้อายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้เข้าสู่พิธีอุปสมบทที่วัดพุทธวิสัยยาราม(วัดท่าน้ำพอง) โดยมี พระครูแก้ว วัดพิชัยพัฒนา เป็นพระอุปฌาย์ พระครูสมุห์ค้ำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูบุญตา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เดิมท่านตั้งใจจะบวชเพียงพรรษาเดียว แต่พอออกพรรษาแล้วใจไม่คิดอยากสึก ด้วยใจอยากได้เรียนทางพระพุทธศาสนา โดยในพรรษาแรกนั้นท่านได้ สอบได้นักธรรมชั้นตรี และมีความประสงค์ อยากเป็นมหาเปรียญ โยมบิดาจึงได้พาไปฝากตัวไว้กับ ท่านเจ้าพระคุณธรรมฐิติญาณ(สังข์ทอง) เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา ญัตติใหม่เป็นธรรมยุต ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ท่านได้รับการญัตติใหม่เป็นธรรมยุติ โดยมี พระพรหมมุนี(ติสฺโส อ้วน) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส เป็นพระอุปฌาย์ พระคุณธรรมฐิติญาณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระญาณดิลก(พิมพ์) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า คุณวุฑฺโฒ และในปีนั้นเองท่านได้ตั้งใจศึกษาธรรมจนสอบได้ นักธรรมชั้นโท การศึกษาและอาชีพ เมื่ออายุ ๑๐ ปี ได้เข้ารับการศึกษาในระดับ ประถมศึกษา ๑ จนถึง ๔ ที่โรงเรียนประชาบาล วัดพุทธวิสัยยาราม(วัดท่าน้ำพอง) หลังจากสำเร็จการศึกษาก็ได้รับ การแต่งตั้งให้เป็นครูฝึกสอนที่โรงเรียนเดิม ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๐ ท่านได้เดินทางมาเรียนต่อโรงเรียนช่างกลที่กรุงเทพฯ และต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประจำที่โรงเรียนช่างกลยันตวิทยานุเคราะห์ และเมื่อจบการศึกษาก็กลับมาประกอบอาชีพขับรถที่อำเภอน้ำพอง การเข้าสู่รมกาสาวพัสตร์ ปี พ.ศ. ๒๔๗๔ เมื่อท่านได้อายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้เข้าสู่พิธีอุปสมบทที่วัดพุทธวิสัยยาราม(วัดท่าน้ำพอง) โดยมี พระครูแก้ว วัดพิชัยพัฒนา เป็นพระอุปฌาย์ พระครูสมุห์ค้ำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูบุญตา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เดิมท่านตั้งใจจะบวชเพียงพรรษาเดียว แต่พอออกพรรษาแล้วใจไม่คิดอยากสึก ด้วยใจอยากได้เรียนทางพระพุทธศาสนา โดยในพรรษาแรกนั้นท่านได้ สอบได้นักธรรมชั้นตรี และมีความประสงค์ อยากเป็นมหาเปรียญ โยมบิดาจึงได้พาไปฝากตัวไว้กับ ท่านเจ้าพระคุณธรรมฐิติญาณ(สังข์ทอง) เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา ญัตติใหม่เป็นธรรมยุต ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ท่านได้รับการญัตติใหม่เป็นธรรมยุติ โดยมี พระพรหมมุนี(ติสฺโส อ้วน) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส เป็นพระอุปฌาย์ พระคุณธรรมฐิติญาณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระญาณดิลก(พิมพ์) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า คุณวุฑฺโฒ และในปีนั้นเองท่านได้ตั้งใจศึกษาธรรมจนสอบได้ นักธรรมชั้นโท ในปีต่อมาท่าน สอบได้เปรียญธรรมประโยค ๓ และได้ย้ายมาพำนักอยู่ที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ และตั้งใจศึกษาธรรมจนในปี ๒๔๘๐ ท่านสอบได้เปรียญธรรม ๕ เมื่อท่านสอบได้เปรียญธรรม ๕ แล้ว จึงหันมาตั้งใจในแนวทางของการปฎิบัติ ท่านก็ได้ออกธุดงค์ไปกับหมู่สหธรรมิกเพื่อหาประสบการณ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้ไปจำวัดอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง ทำหน้าที่เป็นครูสอนบาลีไวยากรณ์ ช่วยสนองงานท่านเจ้าคุณญาณดิลก ซึ่งในขณะนั้นท่านเจ้าคุณ ได้รับหน้าที่ดูแลคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตที่จังหวัด เชียงใหม่ และได้เป็นจังหวะดียิ่งที่ในช่วงเวลานั้น ท่านพระอาจารย์ มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินทางผ่านมาพักที่วัดเจดีย์หลวง จึงได้มีโอกาส กราบนมัสการฟังธรรมและอบรมสมาธิกับพระอาจารย์มั่นบ้าง และเมื่อมีเวลาท่านก็จะท่องเที่ยวจาริกหาที่วิเวกปฏิบัติธรรม ตามป่าเขาทางภาคเหนือ เคยได้ไปพักอยู่กับ พระอาจารย์หนูและหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ Jdloung1 ปี พ.ศ. ๒๔๘๓-๘๔ จำพรรษาอยู่ที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้รับเลือกให้เป็น พระเลขานุการของสมเด็จพระมหาธีรวงศ์ ที่วัด พระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูศรีมหาเจติยาภิมณฑ์ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีวิศาลคุณ หลังจากนั้นได้ออกธุดงค์แสวงหาวิเวกธรรมทางภาคอีสาน และได้เข้าศึกษาและปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์ ฟั่น อาจาโร การสนองงานพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์(ท่านลี) และวัดอโศการาม ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้มาช่วยงาน พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ ฉลองสมโภช ๒๕ พุทธศตวรรษ ที่วัดอโศการาม ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้มามีส่วนร่วมในการสร้างโบสถ์วัดอโศการาม ตั้งแต่ต้นจนแล้วเสร็จ ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ ได้ถึงแก่มรณภาพลงในวันที่ ๒๕ เมษายน ในโอกาสนี้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺฐายี) ได้เป็นประธานอุปถัมภ์ ในการประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลในงานศพท่านพ่อลี และยังทรงกรุณารับภาระรักษาการ เจ้าอาวาสวัดอโศการามในช่วงเวลาหนึ่ง และในเวลาต่อมาได้มีบัญชา ให้ท่านคือ พระศรีวิศาลคุณ มาช่วยดูแลวัดอโศการาม ร่วมกับพระคณะกรรมการช่วยบริหารอีก ๔ รูป ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้มีบัญชาให้ท่าน ทำหน้าที่รักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดอโศการาม พร้อมทั้งแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ด้วย ในช่วงนั้นเองท่านได้เริ่มสานต่องานสร้าง “พระธุตังคเจดีย์” และในวันที่ ๕ ธันวาคม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชวรคุณ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้สร้างศาลาหอฉัน หรือศาลา “ล้วน ว่องวานิช” โดยทางห้างขายยาอังกฤษตรางู เป็นเจ้าภาพ และคุณนายเทพ วรรณพฤกษ์ ได้บริจาคทุนทรัพย์สร้าง ห้องสมุดวัดอโศการาม อีกหลังหนึ่ง ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ ให้ครองตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดอโศการาม ในปีนั้นได้จัดงานฉลอง “พระธุตังคเจดีย์” ที่ได้แล้วเสร็จในปีนั้น โดยได้ทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ ให้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในแผ่นศิลาจารึก เป็นอนุสรณ์ไว้ที่พระธุตังคเจดีย์อีกด้วย ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม “สว่างจิต” โดยมีแม่ชีสว่าง ชัยนาวา เป็นเจ้าภาพบริจาคทุนทรัพย์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอ ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ “พระเทพโมลี” ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ด้วยอายุที่สูงขึ้นและสุขภาพที่ทรุดโทรมลง ท่านเจ้าคุณพระเทพโมลีจึงได้ลาออกตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอโศการาม และทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ พระญาณวิศิษฏ์(ทอง จนฺทสิริ) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสแทน ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ พระเทพโมลี ได้ถึงแก่มรณภาพลง ในวันที่ ๒๒ สิงหาคม เวลา ๑๑.๑๘ น. สิริรวมอายุของท่านได้ ๘๔ ปี ๑ เดือน ๑๔ วัน พรรษา ๖๗ “รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ” รูปของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมย่อยยัยทรุดโทรมไป แต่ชื่อและโคตรยังหาย่อยยับไม่